top of page

REPETOIRE

BEETHOVEN SONATA OP.10 No.1 

Beethoven - Sonata in C minor Op 10 No 1 1st mv Allegro molto e con brio

เปียโนโซนาต้าเบอร์นี้เป็นเบอร์ที่ประกอบไปด้วยสามท่อนแทนที่จะเป็นสี่ท่อนเป็นเพลงที่แต่งในช่วงแรกๆซึ่งถูกประพันธ์ขึ้นในปี1796 อุทิศให้

Countess Anna Margarete von Browne, ผู้ซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์เบโธเฟนที่ใจดีที่สุดในเวลานั้น

ในคีย์ซีไมเนอร์นี้เป็นหนึ่งในบทเพลงที่เชื่อมกับการแสดงละคร ความรุนแรงอารมณ์ความสับสนอลหม่าน พอๆกับบทเพลง

'Pathetique'และ 5th symphony เปิดเพลงมาเป็นเหมือนวงออเครสตร้าเล่นพร้อมกันทั้งวงด้วยเสียงที่ดังกระหึ่ม ช่วงที่เป็นท่อนเชื่อมจะเริ่มด้วยเสียงทำนองในE flat ซึ่งเกิดขึ้นสามรอบ ในช่วงเชื่อมนี้มีการใช้โครงสร้างบนคีย์ของAflat และFminor และD flatหลังจากการเปลี่ยนคีย์สี่ห้องก็นำไปสู่การค้างเบสไว้บนตัวBflatแปดบาร์ ในบาร์ที่45ประกอบไปด้วยสามรูปแบบของคอร์ดAUG6th

ในช่วงประโยคที่สองในช่วงคีย์E flat major ในใกล้จบช่วงมีการใส่ทำนองที่คล้ายๆช่วงแรกอยู่ประโยคนึงแล้วจบด้วยE flat ต่อด้วยcodaอีกนิดนึงเพื่อจบฟอร์มในE flat major

ต่อมาในท่อนDevelopmentเริ่มด้วยประโยคแรกคีย์C major และในช่วงที่สองก็ถูกพัฒนาในคีย์Fminorแปดห้องในช่วงนี้เน้นโทนิคกับโกมิแนนท์ของคี้ย์ตั้งแต่ท่อนที่เชื่อมเป็นตัวนำสู่ประโยคเดิม

ในช่วงRecapitaluationเริ่มด้วยประโยคแรกของคีย์อันเดิม แต่ในช่วงเชื่อมเปลี่ยนจากคีย์Aflat majorไปเป็นGflat majorแทน

ในช่วงประโยคที่สองอยู่ในF major ในช่วงนี้เกิดขึ้นอย่างสั้นๆและเปลี่ยนไปแต่สุดท้ายคีย์Cminorก็กลับมาและตอนจบเพิ่มท่อนcoda

2nd movement

EXPOSITIONเปิดมาเป็นA flat majorในประโยคแรกเริ่มด้วยสองข้อความสองห้อง และซ้ำด้วยประโยคนี้อีกรอบ และจบในคีย์เดิมในช่วงเชื่อมท่อนใช้ประโยคสองประโยคในคีย์Bflat minor ในท่อนสองนี้ไม่มีdevelpmentแต่จะเป็นเหมือนตัวเชื่อมในตรงarpeggioที่คอร์ดdominant seventhและในrecapitulationเป็นการใช้เรื่องราวเดิมแต่เปลี่ยนคีย์

3rd mov

เพลงนี้อยู่ในคีย์Cminor เริ่มต้นเพลงมาเป็นโมทิฟเรื่องลึกลับและการค้นพบอะไรบางอย่างและตามมาด้วยเสียงที่เบ่งบานของดอกไม้ที่ปิดด้วยคอร์ดG major แต่แปลกตรงที่มันนำไปสู่คีย์E flat majorเป็นเสียงเหมือนคำพูดบนละครเวทีจบที่ห้อง25และเพิ่มเติมเล็กน้อยประมาณสองห้องช่วงท่อนที่พัฒนาเป็นช่วงที่อิงจากประโยคแรกมาคืออิงจากโมทิฟตอนเริ่มเพลงแล้วนำมาปรับเล็กน้อย ในท่อนที่กลับมาอีกครั้ง​เริ่มเป็นคีย์เดิม ช่วงท่อนเชื่อมจะค่อนข้างหลากหลายมากขึ้นและประโยคที่สองจะอยู่ในคีย์Cmajorและจะปรากฎอีกครั้งในCmajorแทนCminor แต่จบด้วยCminor  ในส่วนที่จบ ได้เปลี่ยนคีย์ไปคีย์เริ่มต้นที่ห้อง103ซึ่งเป็นส่วนที่เพิ่มคีย์D flat majorห้าห้อง และเปลี่ยนคีย์กลับโดยใช้คอร์ดดิมินิชเซเวนท์ ปิดด้วยpedal tone

CHOPIN - SCHERZO NO.3

ในเบอร์สามนี้มีโมทีฟที่เกิดหลายๆรอบที่คล้ายๆออเคสตร้า เริ่มต้นมาเป็นสองข้อความคล้ายๆกันสั้นๆแต่ถูกเล่นด้วยเครื่องต่างกันในแต่ละรอบ ถ้าเพลงนี้เป็นเพลงสำหรับวงออเคสตร้าในส่วนเริ่มต้นก็จะเป็นการเล่นในกลุ่มเครื่องเดียวกันเช่นเริ่มเป็นเครื่องสาย และส่วนที่มาต่อข้อความเพิ่มก็อาจจะเป็นเอฟเฟคของวงที่เล่นต่างเครื่องกันคือเครื่องเป่า จะเห็นลักษณะแบบนี้เยอะมากในScherzoโดยเฉพาะในส่วนที่ไม่ได้โชว์ออฟมาก และนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้scherzoนี้ค่อนข้างพิเศษ ในสามเพลงที่เหลือโดยเฉพาะอันแรกที่ค่อนข้างโชว์ออฟและแสดงความเป็นvirtuosoและในเบอร์สามเช่นกัน แต่ในเบอร์สามมีความเป็นวงออเคสตร้ามากกว่าอันอื่น และมีความสุขุมลึกลับสุดในบรรดาสี่เบอร์ ในทุกๆท่อนของเพลงนี้โมทิฟจะถูกย้อนซ้ำ หลังจากเปิดมาโชแปงได้เสนอธีมแรกคือเริ่มด้วยRisolutoเสมือนเป็นการเล่น tuttiของวงออเคสตร้าทีเล่นยาวไปจนถึงtenutoที่เป็นช่วงที่เครื่องเป่าลมไม้เล่น หลังจากโซโล่สั้นๆก็กลับมาเจอtuttiที่หนักแน่นมากขึ้นซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงอาการสองขั้วในหนุ่งบุคลิกของโชแปงสิ่งที่สำคัญเลยของเพลงนี้คือต้องเล่นให้แตกต่างกันระหว่างRisolutoกับwind solo ในเพลงนี้มีสีสันค่อนข้างหลากหลายเพราะในเบอร์อื่นเปิดเพลงมาก็ตรงเข้าหาทำนองหลักเลยแต่เพลงนี้ไม่ หลังจากจังหวัของทำนองหลักมากโชแปงก็เสนอช่วงที่เหมือนช่วงร้องเป็นการเริ่มประมาณสี่ห้องอาจจะเหมือนเล่นด้วยวงเครื่องสายและมีเสียงฮาร์ปเล่นเสียงไล่ลงตามห้องหลัง และซ้ำท่อนนี้อีกรอบแต่รอบที่สองจะตามด้วยเสียงที่ค่อนข้างซ่อนความลึกลับความโหยหวนและการไม่เชื่อมต่อกันของเพลง แล้วก็เริ่มเข้าสู่ช่วงที่โชแปงเล่นทำนองร้องซ้ำและเข้าสู่ช่วงที่เหมือนช่วงร้องที่ช่วงนึงอย่างแนบเนียน เหมือนใช้การเฟดของเพลงลงมาและทำออกมาสมสัดส่วนมากแล้วกลับมาที่ช่วงทำนองร้องอีกครั้งแต่กลับมาในแนวสดใสแบบE majorซึ่งเป็นช่วงที่ทำให้ตลกและตัดมาที่การใช้โมทิฟที่ค่อนข้างโชว์ออฟด้วยมือซ้ายที่เต็มไปด้วยพลังและมือขวาโลว์ทำนอง ซึ่งแส้งให้เห็นถึงความมีสองบุคลิกในคนเดียว และกลับมาที่ทำนองหลักแต่รอบนี้ไม่มีการย้อนและหลังจากนั้นความเป็นออเคสตร้าก็หายไปเพราะกลายเป็นส่วนที่แสดงความเป็นนักเปียโนออกมาจนจบ

MUCZYNSKI - SUIT OP.13

Robert Muczynskiเป็นหนึ่งในนักประพันธ์ชาวอเมริกันที่โดดเด่นในสไตล์ neo-Classical  

ในเพลงแต่งของMuczynskiมีความหลากหลายในแต่ละเพลงอย่าง Suite for Piano, Op. 13,ในท่อน

“Flight” and “Labyrinth” ถูกเขียนในแบบ monophonic textureทั้งท่อน ในเพลงTheSix Preludes, Op.6, Suite for Piano, Op. 13, และ Toccata, Op. 15,มีความหลายหลายของhomophonic texturesประกอบไปด้วยเสียงทำนองเดียวและคอร์ดที่เล่นซ้ำ และทำนองที่เล่นแบบostinatos ในงานของMuczynskiจะมีการใช้ลักษณะจังหวะที่หนักแน่น อย่างท่อนของเพลงแต่ในเล่นจังหวะอย่างถูกต้องซึ่งเป็นอะไรที่ค่อนข้างยาก เครื่องเคาะก็ค่อนข้างจำเป็นในการซ้อม the Suite movements “Festival,” “Flight,” “Labyrinth,” and “Scherzo,” และชอบใช้การเน้นผิดจังหวะอย่างในเพลงThe “Scherzo”from Suite for Piano Op. 13และท่อน“Vision”ที่ต้องเล่นให้เห็นความต่างระหว่างการยืดกับการเน้น ส่วนในท่อน“Phantom”Muczynski ชอบเขียนคอร์ดในโน้ตสองมือแบบพร้อมกันด้วยมือขวา Dynamicsมีการใช้เสียงที่หลากหลายและโดเด่นมากในแต่ละงานของเขา 
ในท่อน“Festival” from the Suite for Piano, Muczynski เขียนให้ crescendo แค่สองห้องและหลังจากนั้นก็เบาลงทันทีและตามด้วยดังสุดทันที 

อย่างท่อน“Flight” from the Suite for Piano, Op. 13,ยากมากที่จะกรุ๊ปโน้ตเพื่อซ้อม ซึ่งเวลาซ้อมต้องซ้อมแบบในหนึ่งประโยคโดยเน้นจังหวะแรก 

 การซ้อมช้าก็เป็นหนึ่งในการพัฒนาการเล่นเพราะมันจะช่วยในการจำโน้ตง่ายขึ้น และควรมีเทคนิคที่ดีและการใส้เสียงดังเบาที่ชัดเจน แต่ไม่แข็งเกินไป

bottom of page