top of page

SEARCHING...

จากการหาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารกับความทรงจำแล้วได้ลองทำแบบสอบถามและสัมภาษณ์เพื่อดูว่ามีใครที่มีประสบการณ์หวนถึงอดีตกับอาหารและเสียง

คำถามแบบสอบถาม

1.อาหาร/ขนมอะไรที่ทำให้คุณกินแล้วรู้สึกนึกถึงช่วงเวลาเก่าๆ? 

2.คุณได้รับประสบการณ์กับอาหาร/ขนมนี้ตอนอายุเท่าไหร่?

3.อาหาร/ขนมอันนี้ทำให้คุณนึกถึงอะไร?

4.เพลง/เสียงอะไรที่ทำให้คุณฟังแล้วรู้สึกนึกถึงช่วงเวลาเก่าๆ

5.คุณได้รับประสบการณ์กับเพลง/เสียงนี้ตอนอายุเท่าไหร่?

6.เพลง/เสียงนี้ทำให้คุณนึกถึงอะไร?

   สามข้อแรกคือคำถามเกี่ยวกับอาหาร และสามข้อหลังคือคำถามเกี่ยวกับดนตรี และผลลัพธ์ที่ได้คือ

กลุ่มเพศที่ทำเยอะกว่าคือเพศหญิง64%และชาย36% อายุ 45-54ทำประมาณ33%ส่วนช่วงอายุอื่นจะคละๆกัน

อาชีพหรือนักศึกษาที่ทำแบบสอบถามนี้ไม่ใช่อาชีพนักดนตรีหรือเชฟ

   ในคำถามแรกอาหาร/ขนมอะไรที่ทำให้คุณกินแล้วรู้สึกนึกถึงช่วงเวลาเก่าๆ? คำตอบที่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นขนมไทย ส่วนประสบการณ์ที่ได้รับเกี่ยวกับอาหาร/ขนมนี้ คือช่วงอายุ0-10มี69%ส่วนอายุ11-20มีประมาณ27% และอาหาร/ขนมอันนี้ทำให้นึกถึงทั้งสถานที่และบุคคลในปริมาณที่เท่ากัน

   ในสามคำถามสุดท้ายเพลง/เสียงอะไรที่ทำให้คุณฟังแล้วรู้สึกนึกถึงช่วงเวลาเก่าๆ ส่วนใหญ่คือเพลงยุค60-90 แต่ก็จะมีเสียงบางเสียงที่ทำให้เกิดความรู้สึกย้อนเวลาซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละคนด้วย ส่วนประสบการณ์ที่ได้รับเพลง/เสียงนี้ส่วนใหญ่อยูที่อายุ11-20ปีประมาณ47%และอายุ0-10ปีที่ประมาณ39% และเพลง/เสียงนี้ทำให้นึกถึงบุคคลมากกว่าสถานที่ โดยนึกถึงบุคคลที่52%และสถานที่ประมาณ38%

   ในแบบสอบถามนี้มีผู้หญิงทำเยอะมากกว่าผู้ชาย และอายุ45-54และทำให้คำตอบที่ได้ว่าอาหาร/ขนมที่ทำให้รู้สึกนึกถึงช่วงเวลาเก่าๆคือส่วนใหญ่เป็นอาหารหรือขนมไทยเช่น ขนมถ้วย ขนมครก ขนมลืมกลืน ขนมเปี๊ยะ โบ๊ยเกี๊ยะ เป็นต้น ส่วนเพลง/เสียงที่ทำให้เหมือนย้อนอดีตส่วนใหญ่ก็เป็นเพลงยุค60-90 แต่แน่นอนว่าความทรงจำของอาหาร/เสียงขึ้นอยู่กับแต่ละคนแตกต่างกันไป บางคนจะมีเสียงที่จดจำเฉพาะไม่ใช่เป็นเพลงทั่วไป บางคนจะมีอาหารเฉพาะเจาะจงมากซึ่งขึ้นอยู่กับความทรงจำขึ้นอยู่กับเรื่องราวชีวิตของแต่ละคน แต่การที่ผลออกมาเป็นขนมไทยมากกว่าอาจจะเป็นเพราะช่วงยุคสมัยและอายุของผู้ที่ทำแบบสอบถามนี้ที่เป็นช่วงอายุ45-54 ความทรงจำกับขนมนี้คือช่วงอายุ0-11เป็นช่วงตั้งแต่เกิดจนถึงวัยเรียน ซึ่งจะต่างจากผู้ที่มีประสบการณ์กับเสียงจะได้รับความทรงจำกับเสียงในช่วงอายุ11-20ซึ่งเป็นช่วงวัยรุ่นประมาณโรงเรียนมัธยม เพลง/เสียงนี้ทำให้นึกถึงบุคคลมากกว่าสถานที่ประมาณ14% ในขณะที่อาหาร/ขนมทำให้นึกถึงทั้งบุคคลและสถานที่เท่าๆกัน ในความคิดเห็นส่วนตัวรู้สึกว่าทั้งเสียงและอาหารทำให้นึกถึงเหตุการณ์ต่างๆมากกว่าเป็นเหตการณ์ๆนึงที่เกิดขึ้นช่วงนั้นและมีเสียงหรือขนมเป็นเหมือนตัวแทนความทรงจำในตอนนั้น

   ในการสัมภาษณ์เชฟและนักประพันธ์เพลงได้ถามคำถามทั้งสองคนเหมือนกัน คำตอบที่ได้จากเชฟปิแอร์ส่วนใหญ่จะมีกลิ่นอายความอบอุ่นของบ้านของครอบครัว อย่างตอนที่ถามเค้าว่าชอบอาหารจานไหนมากที่สุด เค้าก็บอกว่าชอบสไตล์บาวาเรียนเพราะเป็นอาหารที่เชฟโตมาในครัวบาวาเรียนเป็นอาหารบ้านๆจึงจะเห็นได้จากคำตอบตรงนี้ว่าอันนี้เป็นหนึ่งในความโฮมมี่ของเชฟ แต่เชฟก็บอกอีกว่าจริงๆแล้วถ้าจะให้ตอบว่าชอบอาหารจานไหนมากที่สุดเนี่ยมันยากมากที่จะได้คำตอบเพราะมันหลากหลายมาก โดยส่วนตัวเราคิดว่ามันก็ยากที่จะตอบว่าชอบอาหารจานไหนมากที่สุด ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับเรื่องราวว่ามันไปชนกันกับอาหารจานไหนที่จะทำให้อาหารจานนั้นมันโดดเด่นออกมา เหมือนกับว่าอาหารเป็นสัญลักษณ์แทนเรื่องราวความทรงจำนั้น เชฟได้บอกว่าเมนูแทบทุกเมนูในร้านได้แรงบันดาลใจมาจากช่วงเวลาวัยเด็กของเขาและของคนเยอรมันทั้งสิ้นโดยวิธีการที่เค้าทำคือใช้เทคนิคปรับเปลี่ยนการหั่นเนื้อในเมนูที่เนื้อเย็นเพื่อที่จะให้ได้กลิ่นอายของความเป็นบ้าน อย่างเมนูBeef Rouladen, FLAMMKUCHEN (GERMAN PIZZA)คือมันเกี่ยวกับความทรงจำในวัยเด็กของเชฟหมดในทุกขั้นตอนการคิดทำเมนู และเค้าก็อยากให้ได้ความรู้สึกของความเป็นบ้านความรู้สึกที่แม่ทำกับข้าวอยากจะนำความรู้สึกดั้งเดิมของอาหารมาให้แก่คที่มากินถึงแม้ว่าคนไทยจะไม่รู้สึกว่านี่เป็นอาหารบ้านๆของเยอรมันแต่การที่ได้ดูน่าตาอาหารได้ชิมเข้าไปจริงๆแล้วจะได้ความรู้สึกที่อบอุ่นซึ่งโดยตัวเราเองก็รู้สึกว่าค่อนข้างจริงหลังจากที่ได้ลองชิมอาหารที่ร้านนี้แล้วก็รู้สึกว่ามันไม่ใช่อาหารที่กินที่บ้านเราอยู่แล้วแต่จะได้รับความรู้สึกที่ละมุนและอบอุ่นกับอาหารที่ร้านนี้ และกระบวนการในการใช้ไอเดียมาทำอาหารที่สำคัญเลยคือต้องใช้ความรักในการทำอาหาร เชฟได้บอกว่ามันจะต่างกับเชฟที่ทำอาชีพเพื่อหาเงินเฉยๆแต่ไม่ได้รักในอาชีพที่ทำ เค้าบอกว่าต้องหลงใหลต้องรักมันแล้วจะทำออกมาหรือสื่ออกมาได้มีความหมายมากที่สุดและหลังจากนั้นก็ต้ระดมความคิดและเลือกดูผลิตภัณฑ์อย่างถี่ถ้วน ในที่นี้ก็หมายความว่า ยกตัวอย่างเช่นถ้าในช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ เค้าก็จะมาระดมความคิดกันว่าถ้าพูดถึงวาเลนไทน์แล้วนึกถึงอะไรบ้าง นึกถึงความนุ่มละมุนความอ่อนโยนความสวยงามของความรักเค้าก็จะเริ่มมาดูเมนูที่จะทำดูผลิตภัณฑ์ที่จะสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้ตรงกับความเป็นวันวาเลนไทน์  และในคำถามสุดท้ายว่าอาหาร/ขนมในวัยเด็กที่ชอบมากที่สุดคืออะไร ซึ่งคำตอบที่ได้จากเชฟเป็นอะไรที่เรารู้สึกว่ามันพิเศษสำหรับเค้ามากเพราะขนมอันนี้มันไม่ใช่ขนมทีมีขายทั่วไปแต่เป็นมันคือHolunder Bluten คือดอกไม้ชนิดหนึ่ง ก่อนตัดมันมีสีขาวเหลืองๆ ละพอเอาไปตัดใส่ยีสต์ ชินนามอน น้ำตาล และทอด หน้าตาจะออกมาคล้ายๆแพนเค้ก เป็นเมนูที่แม่เค้าทำให้ตอนเด็กๆเชฟบอกว่าถึงเค้าจะทำออกมาเองยังไงก็ไม่เหมือนที่แม่เค้าเป็นคนทำให้ แต่ทุกครั้งที่ได้กินก็จะนึกถึงเหตการณ์ในช่วงนั้นถึงแม้ขณะที่กำลังเล่าอยู่ก็ยังนึกภาพออกได้เลย

   จากการที่สัมภาษณ์นักประพันธ์เพลงก็รู้สึกว่าคำตอบที่ได้จะไม่ใช่เชิงความอบอุ่นและจะเป็นไปในแนวการจินตนาการเพ้อฝันของเด็กและคำตอบที่ได้จากการสัมภาษณ์ครั้งนี้ก็น่าสนใจมากเริ่มที่นักประพันธ์ที่อาจารย์อาร์ทชอบก็คือSchoenbergเพราะชอบในความกล้าที่จะทำในสิ่งที่เค้ารู็ว่าคนจะไม่ชอบแต่เค้าก็ไม่กลัวที่สร้างผลงานแปลกใหม่ออกมา เสียง/เพลงที่อาจารย์ชอบและจำได้ในวัยเด็กคืออย่างเด็กๆอาจารย์ชอบเสียงระฆังเพราะมันทำให้นึกถึงความทรงจำในวัยเด็กหรือความรู้สึกในวัยเด็กอย่างความเชื่อตอนเด็กที่ว่าหลังเที่ยงคืนจะเป็นเวลาแห่งเวทมนตร์หรือจะมีสัตว์ประหลาดเกิดขึ้นหลังเที่ยงคืนซึ่งมันเป็นความรู้สึกที่เกิดได้ตอนที่เป็นเด็กเท่านั้นและความรู้สึกสนุกแบบนั้นก็ไม่สามารถเรียกกลับมาได้แล้ว และเสียงในวัยเด็กของอารจารย์อาร์ทที่พิเศษและเราชอบมากคือเป็นเสียงที่เงียบมากและตอนนั้นโลกเป็นสีครีม และอย่างโปรเจคล่าสุดที่ใช้ไอเดียความเป็นเด็กมาสร้างสรค์ในงานว่าการใช้ความคิดแบบเด็กที่มีแต่เด็กเท่านั้ที่คิดจะทำกับการเอาเสียงมาถอยหลังกลับแล้วเล่น และมีเพลงที่เคยแต่งแล้วใช้ไอเดียของการจินตนาการในโลกหลังเที่ยงคืนของช่วงวัยเด็ก ส่วนวิธีการในการเอาไอเดียมาใช้ในงานคืออย่างการวางแผนๆนึงมาก่อนและมันจะค่อยๆปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆจนสำเร็จเองได้ และอย่างการใช้ความฝันบางอย่างมาใช้ในการแต่งเพลง โดยส่วนตัวแล้วเราชอบความรู้สึกของความเป็นเด็กและการใช้ไอเดียการจินตนาการโลกหลังเที่ยงคืนมาใช้ในการแต่งเพลงของอาจารย์มาก เพราะเป็นความรู้สึกที่ขาดหายไปและยากมากที่จะเอาความรู้สึกนั้นกลับมาอีกครั้ง

   

   ในความคิดเราเราคิดว่า การที่เสียง/เพลง/อาหาร/ขนมมันมาเป็นตัวแทนความทรงจำที่น่าทึ่งบางอย่างในอดีตเนี่ยเป็นเพราะเราขาดหายจากมันไปและไม่มีทางที่เราจะเอาความรู้สึกหรือความทรงจำตรงนั้นกลับมาได้ให้มันเหมือน100% อาหารทำให้นึกถึงเหตการณ์ในตอนนั้นทั้งบุคคลและสถานที่ ส่วนเสียงหรือเพลงจะทำให้นึกถึงเหตการณ์โดยรวมในตอนนั้นแต่จะไม่ชัดเท่ากับอาหาร แต่ถ้าทั้งสองอย่างอยู่ในเหตการณ์เดียวกันในความทรงจำนั้น เราก็อาจจะเรียกเรื่องราวในตรงนั้นกลับมาได้มากกว่าแค่อย่างได้อย่างหนึ่ง ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกเสียงหรืออาหารนี้ก็ขึ้นอยู่กับความทรงของแต่ละคนว่าจะอันไหนที่จะมีผลกับตนเองมากที่สุด แต่อย่างน้อยเสียง,อาหารซึ่งเป็นตัวที่จะพาเรากลับไปสู่ความรู้สึกนั้นได้ชั่วขณะหนึ่ง

bottom of page